โครงการฮู้คุณค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน

พื้นที่ดำเนินงาน : อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น (YIM61) ชนเผ่าปกาเกอะญอมีภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมและการทำมาหากินที่สืบทอดต่อเนื่องมายาวนาน จากการผลิตเพื่อดำรงชีวิตเฉพาะตนเมื่อสมัยก่อน ปัจจุบันรูปแบบชีวิตเปลี่ยนไป ชาวบ้านจำเป็นจะต้องใช้เงินในการดำรงชีวิตมากขึ้น ภูมิปัญญาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการทอผ้า การหาน้ำผึ้งป่า ถือว่าเป็นต้นทุนที่สามารถใช้ในการสร้างรายได้ แต่จะทำอย่างไรให้สินค้าโดนใจคนรุ่นใหม่ และเป็นสื่อบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนได้ด้วย จากโจทย์ดังกล่าว โครงการฮู้คุณค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนจึงเกิดขึ้นโดยมันสมองของนักเรียนศูนย์การเรียนโจ๊ะมาโลลือหล่า โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนและคนในชุมชน เห็นคุณค่าและอนุรักษ์ต่อยอดวิถีวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่มีค่าไว้ 2) เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นที่ยอมรับและมีการใช้งานที่ตอบโจทย์คนในสังคม และ 3) เพื่อการสร้างแบรนด์และแพ็คเกจจิ้งที่สะท้อนคุณค่าเรื่องราวของผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาชุมชนในสังคมวงกว้าง แม้จะมีใจรักในด้านศิลปะและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวปกาเกอะญอ และได้มีการทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเอาไว้บ้างแล้วจากการทำโครงการกับ YIM59 แต่เมื่อต้องมาทำแบรนด์ให้สื่อสารเรื่องราวชุมชนสบลาน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ประกอบกับต้องเป็นแบรนด์ที่โดนใจคนรุ่นใหม่ น้องๆ ทีมงานก็ต้องเรียนรู้กับผู้รู้ด้านแบรนด์ ช่วยกันลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากชาวบ้านในชุมชน ออกแบบ และลองนำไปใช้จริงในการทำแคตตาล็อกสินค้าของชุมชนและในการผลิตสินค้าของร้านโจ๊ะ IDEE จนในที่สุดก็ได้โลโก้ของแบรนด์และบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของชุมชนที่สามารถนำไปใช้จริง

โครงการทางเลือกเด็กสร้างสื่อ

พื้นที่ดำเนินงาน : อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น (YIM61) ชมรมสื่อสารอาสา เป็นที่รวบรวมนักศึกษาคณะสื่อสารดิจิตัล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ต้องการเอาทักษะด้านการทำสื่อของตนเองไปใช้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ที่ผ่านมาชมรมสื่อสารอาสาจึงได้พยายามให้นักศึกษาริเริ่มกิจกรรมสร้างสรรค์ในด้านสื่อเพื่อประชาชนอยู่เสมอ สำหรับโครงการของชมรมสื่อสารอาสา คณะสื่อสารดิจิตัล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ได้รับการสนับสนุนจาก YIM61 คือ โครงการทางเลือกเด็กสร้างสื่อ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมเยาวชนในเครือข่ายการศึกษาทางเลือก ให้ผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์ 2) ส่งเสริมเยาวชนในเครือข่ายการศึกษาทางเลือกให้เข้าร่วมการประกวด เพื่อพัฒนาทักษะ และเรียนรู้กระบวนการทำงานรูปแบบใหม่ๆ พร้อมทั้งได้เรียนรู้แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานสื่อจากเยาวชนกลุ่มอื่นๆ และ 3) เพื่อพัฒนาเยาวชนในเครือข่ายการศึกษาทางเลือกให้เตรียมความพร้อมสู่เส้นทางอาชีพการผลิตสื่อแบบมืออาชีพ กิจกรรมที่น้องๆ จัดขึ้นมา ได้แก่ การฝึกอบรมเรื่องการผลิตสื่อคลิปวิดิโอสั้นแก่นักเรียนที่สนใจ ซึ่งนอกจากจะเป็นการให้ความรู้และฝึกให้น้องๆ ผลิตคลิปสั้นเป็นแล้ว ยังได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อ และไม่ตกเป็นเหยื่อของสื่อที่ไม่ดีให้แก่น้องๆ อีกด้วย

โครงการการสร้างแอพพลิเคชั่นเกม AR “ARONE” เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงใหม่

พื้นที่ดำเนินงาน : จ.เชียงใหม่ สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น (YIM61) ด้วยความสนใจในเทคโนโลยี และประสบการณ์ด้านโปรแกรมการสร้างเกมที่ได้เรียนรู้มา ประกอบกับทักษะด้านศิลปะ และความสนใจด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้กลุ่มเด็กบ้านเรียนรวมตัวกันคิดสร้างแอพพลิเคชั่นเกม AR ที่ใช้เป็นสื่อเข้าถึงแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ง่ายและน่าสนใจมากขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “ARONE” โครงการการสร้างแอพพลิเคชั่นเกม AR “ARONE” เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแอพพลิเคชั่นเกม AR “ARONE” ที่ใช้เป็นสื่อเข้าถึงแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ง่ายและน่าสนใจมากขึ้น เกม ARONE สร้างขึ้นด้วยโปรแกรม Construct 2 มีการนำเทคโนโลยี AR หรือ Augmented Reality ซึ่งเป็นการรวมสภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือนในโปรแกรมเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นภาพและสถานการณ์จำลอง วัตถุเสมือนที่พูดถึงนี้เป็นวัตถุที่ไม่มีอยู่ในโลกความจริง แต่ผู้ใช้จะสามารถเห็นได้เมื่อมองผ่านอุปกรณ์บางอย่าง เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แว่นตา VR ฯลฯ ทำให้ผู้ใช้เหมือนได้ประสบกับเหตุการณ์จำลองนั้นจริง ๆ และมีการนำเทคโนโลยี GPS ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการบอกตำแหน่งของวัตถุต่าง ๆ บนโลกผ่านดาวเทียมมาใช้ในการนำทางในตัวเกม เพื่อให้ผู้เล่นสามารถเดินทางไปที่สถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องการได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีอยู่ในโทรศัพท์มือถือยุคใหม่เกือบทั้งหมด […]

โครงการสร้างภาคีเครือข่ายร้านค้าชุมชนสู่วิถีการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

พื้นที่ดำเนินงาน : อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น จากประสบการณ์เมื่อตอน YIM 59 ทีมงานร้านค้าชุมชนของศูนย์การเรียนโจ๊ะมาโลลือหล่าที่ริเริ่มและลงมือด้วยนักเรียนของศูนย์ก็ได้มีการปรับตัว พวกเขาได้เรียนรู้การทำร้านค้าให้เหมาะกับชุมชนและศักยภาพของตนเองในการบริหารจัดการ แม้จะไม่ได้มีรูปแบบสหกรณ์เต็มตัว แต่ผลงานจากเมื่อปี 2559 ที่ได้มีการรวบรวมสินค้าของชาวบ้านในบ้านสบลาน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ไปจำหน่ายงานต่างๆ ที่ไปร่วม ก็ทำให้สินค้าของพี่น้องปกากะญอบ้านสบลานเป็นที่รู้จัก สร้างรายได้พอสมควร ทำให้ศูนย์การเรียนอื่นๆ และชุมชนอื่นๆ ที่เป็นเครือข่ายกันอยากลองทำบ้าง ในปี 2561 นี้จึงได้มีการร่วมมือกับภาคีและดำเนินการต่อเนื่องในชื่อโครงการสร้างภาคีเครือข่ายร้านค้าชุมชนสู่วิถีการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อระดมทุนหางบประมาณในการทํางาน 2) เพื่อให้คนรู้จักร้านค้ามากขึ้น 3) เพื่อสนับสนุนให้ชาวบ้านรักษาวัฒนธรรมเดิมเห็นความสําคัญของวัฒนธรรมเดิมและมีการต่อยอดผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น เช่น(ผลิตภัณฑ์ของดั่งเดิม) ผ้าทอมือเช่น เสื้อ ผ้าพันคอ ผ้าห่ม ย่าม และน้ำผึ้ง และ 4) เพื่อสร้างและขยายเครือข่ายสมาชิกร้านค้าชุมชนที่มีส่วนร่วมในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนระหว่างชุมชนและโรงเรียน ในปีนี้ ทีมงานร้านค้า จึงได้มีการปรับรูปแบบ และสร้างช่องทางติดต่อและซื้อขายสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น คือ เพจ โจ๊ะ IDEE ทางร้านยังได้มีการรวบรวมสินค้าเพิ่มเติมจากชุมชนเครือข่าย […]

โครงการ เยาวชนรุ่นใหม่อนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อสืบสานแหล่งอาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน

พื้นที่ดำเนินงาน : ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น โครงการเยาวชนรุ่นใหม่อนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อสืบสานแหล่งอาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน มีที่มาจากการที่กลุ่มผู้ดำเนินโครงการเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาพื้นบ้านในฐานะที่เป็นสิ่งสะท้อนความคิดสร้างสรรค์ของชาวบ้านในท้องถิ่นในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีอยู่เดิมในท้องถิ่นก็เริ่มจะสูญหายไป เช่น การทำประมงชายฝั่งโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนเป็นเครื่องมือทำประมง โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และยั่งยืน โดยการสร้างแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำในทะเล 2) เพื่อสร้างจิตสำนึกและสร้างความตระหนักให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ และพัฒนาชุมชนของตัวเอง และ 3) เพื่อเสริมสร้างความรู้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานสายกลาง สามารถพึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนสามารถสืบสานวิถีอาชีพและภูมิปัญญาพื้นบ้านให้ดำรงสืบต่อไป กิจกรรมสำคัญ คือ การจัดกิจกรรมฝึกอบรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในส่วนของความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านประมงพื้นบ้านจากปราชญ์ชาวบ้านเอง และการศึกษาดูงานการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาชีพจากโครงการในพระราชดำริและชุมชนต้นแบบ

1 3 4 5 6 7 8