โครงการ Creative Culture : เยาวชนสร้างสรรค์สื่อชายแดนใต้

พื้นที่ดำเนินงาน : ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะ กลุ่มเยาวชนสร้างสรรค์ชายแดนใต้ เป็นกลุ่มเยาวชนในจังหวัดชายแดนใต้ที่รวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในหลากหลายกิจกรรม หนึ่งในนั้นคือกิจกรรมเกี่ยวกับการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ ซึ่งสอดคล้องกับความสนใจของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ และยังเป็นประโยชน์ต่อเด็กในการแยกแยะและใช้ประโยชน์จากสื่อให้ถูกทาง สามารถสื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างสันติในพื้นที่ได้ อีกทั้งเดิมที ทางกลุ่มเองก็ได้มีการทำกิจกรรมกิจกรรม Creative Culture ราการวิทยุโดยเยาวชนเพื่อคนทุกวัย ออกอากาศผ่านสถานีวิทยุ 107.25 MHz ทุกวันเสาร์ อยู่แล้ว ในการทำโครงการครั้งนี้ จึงเป็นการต่อยอดจากฐานงานเดิมของกลุ่ม จนเกิดเป็นโครงการ Creative Culture : เยาวชนสร้างสรรค์สื่อชายแดนใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชนในจังหวัดปัตตานีที่มีความสนใจด้านสื่อสารมวลชนให้เกิดองค์ความรู้และประสบการณ์ ทางด้านการเป็นผู้สื่อสารมวลชน 2) เพื่อให้สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างสุขภาวะที่ดีทางอารมณ์และความคิดระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร และ 3) เพื่อเป็นการพัฒนาอย่างบูรณาเชิงนวัตกรรมระหว่างศักยภาพเยาวชน การสื่อสาร และภาพลักษณ์เชิงบวกในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ สำหรับกิจกรรมที่ดำเนินการ ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ การสร้างประสบการณ์นักสื่อสารมวลชน และกิจกรรมเฟ้นหานักจัดรายการวิทยุ Creative Cultureหน้าใหม่ น้องๆ ที่ผ่านการฝึกอบรมก็ได้มีโอกาสเป็นดีเจหน้าใหม่กับรายการด้วย

โครงการสร้างสัมพันธ์สามวัยร่วมใจสานวัฒนธรรม

พื้นที่ดำเนินงาน : อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น กลุ่มเยาวชนใน ต.เขื่อนผากกลุ่มนี้ได้มองเห็นช่องว่างระหว่างวัย และการเลือนหายของวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงได้ปรึกษากันว่าน่าจะทำโครงการที่ช่วยให้เกิดการรวมตัวของคนสามวัย คือ ผู้สูงอายุ คนวัยทำงาน และเยาวชน เพื่อช่วยกันสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงเป็นเกิดโครงการสร้างสัมพันธ์สามวัยร่วมใจสานวัฒนธรรมขึ้น โดยความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อนผาก ที่ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โครงการสร้างสัมพันธ์สามวัยร่วมใจสานวัฒนธรรมมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสืบสานวัฒนธรรมล้านนาหรือประเพณีพื้นเมือง 2) เพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆและสามารถมีความคิดเห็นในด้านต่างๆได้ และ 3) เพื่อสร้างความร่วมมือกับกลุ่มชาวบ้านในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นให้แก่เด็กและเยาวชนในตำบลเขื่อนผาก เยาวชนผู้ดำเนินโครงการได้ประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อนผากและร่วมมือกับกลุ่มสภาเยาวชนตำบลเขื่อนผากในการร่วมกันจัดกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมในงานยี่เป็งของตำบล โดยส่วนที่โครงการเข้าไปจัดคือการประกวดสำรับอาหารเมือง และ การประกวดฟ้อนเล็บ ซึ่งจะทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านการฝึกฝนเพื่อประกวดของแต่ละพื้นที่ น้องๆ ได้ประสานกับครูภูมิปัญญาด้านการฟ้อนในพื้นที่ มาช่วยนำการซ้อมฟ้อนแก่กลุ่มแม่บ้าน ในกิจกรรมดังกล่าว เยาวชนได้มีบทบาทช่วยจัดกิจกรรมการประกวดร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล ในวันจริง การประกวดดำเนินไปอย่างสนุกสนาน ชาวบ้านเต็มที่กับกิจกรรม น้องๆ เยาวชนต่างก็ช่วยกันจัดงานให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี ชมวิดีโอกิจกรรมของโครงการนี้ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=hiTDIMJA11Q&feature=youtu.be&fbclid=IwAR3gEyEI8NuNHvIzedhZ3FmClVHtG3ulBoVxX-TFR4ZFeS1iuGkTDJgkwdE

โครงการ Big dream for big smile สานฝันที่ยิ่งใหญ่คืนความสดใสสู่ท้องถิ่น

พื้นที่ดำเนินงาน : ต.มะนังดาลำ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น “กลุ่ม Big dream” เป็นกลุ่มเยาวชนกลุ่มหนึ่งที่มีใจรักในการเป็นจิตอาสาและพัฒนาช่วยเหลือสังคม พวกเขาเล็งเห็นปัญหาเรื่องยาเสพติดว่าเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ จึงได้หยิบมาเป็นโจทย์ในการสร้างโครงการในครั้งนี้ โครงการ Big dream for big smile สานฝันที่ยิ่งใหญ่คืนความสดใสสู่ท้องถิ่น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนภายในชุมชนตั้งแต่เยาวชนจนถึงวัยผู้ใหญ่ ให้ห่างไกลปัญหายาเสพติด เพื่อให้ได้มาซึ่งรอยยิ้มแห่งความสุข โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนภายในชุมชนตั้งแต่เยาวชนจนถึงวัยผู้ใหญ่ ให้ห่างไกลยาเสพติด 2) เพื่อสร้างกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ ได้สานต่อแนวคิดและอุดมการณ์ของกิจกรรมที่ได้ทาไปยังชุมชน และ 3) เพื่อให้คนในพื้นที่ดาเนินงานมีชีวิตความเป็นอยู่และมีสุขภาวะที่ดีกว่าเดิม โครงการ Big Dreams for Big Smile จัดกิจกรรมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้เยาวชนในชุมชน ทั้งการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษภัยยาเสพติดและพัฒนาทักษะชีวิตป้องกันยาเสพติด และกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย ได้แก่ การวิ่ง การแข่งฟุตบอล ซึ่งจะทำให้เยาวชนในพื้นที่ได้ดูแลสุขภาพและทำกิจกรรมสร้างสรรค์ นับว่าได้ทั้งความสนุกสนานและทักษะชีวิตไปพร้อมๆ กัน ติดตามกิจกรรมของกลุ่ม Big dream ได้ที่เพจเฟสบุ๊ค Big dream

โครงการเด็กไม่ไปโรงเรียนมาเขียนหนังสือ

พื้นที่ดำเนินงาน : จ.เชียงใหม่ สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น (YIM61) เด็กบ้านเรียน หรือ เด็กโฮมสคูล มักพบเจอคำถามมากมายเกี่ยวกับรูปแบบการศึกษาที่พวกเขาเลือก ทั้งที่ถามด้วยความต้องการที่จะเข้าใจ และเป็นทางเลือกในการจัดการศึกษาให้ตนเองและลูกหลาน ไปจนถึงการตั้งคำถามอย่างไม่เข้าใจ ทำให้กลุ่มเด็กอะไรไม่ไปโรงเรียน อันประกอบไปด้วยเหล่าสมาชิกเด็กบ้านเรียนในเชียงใหม่เป็นส่วนใหญ่และเพื่อนๆ เกิดแรงบันดาลใจที่จะสื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษาทางเลือกของพวกเขาออกสู่สาธารณะมากขึ้น จึงได้ริเริ่มโครงการเด็กไม่ไปโรงเรียนมาเขียนหนังสือขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ให้คนรู้จักการศึกษาทางเลือกแบบบ้านเรียนมากขึ้น โครงการเด็กไม่ไปโรงเรียนมาเขียนหนังสือ เลือกการสื่อสารสู่สาธารณะด้วยการทำหนังสือ โดยออกสัมภาษณ์กรณีศึกษาที่เป็นเด็กบ้านเรียนในประเด็นคำถามที่มักถูกถามบ่อยครั้ง ตลอดจนคำถามที่ต้องการอธิบายให้สังคมเข้าใจมากขึ้น รวบรวมข้อมูลและถ่ายทอดออกมาเป็นหนังสือเรื่องแต่งที่มีฐานข้อมูลจริงและภาพประกอบสไตล์วัยรุ่นเพื่อให้น่าอ่าน ซึ่งกว่าจะได้หนังสือออกมา พวกเขายังต้องปรึกษาวิธีการทำงานหนังสือกับนักเขียนมืออาชีพ เพื่อให้ได้แนวทางการทำงานและคำแนะนำเพื่อปรับปรุงงานให้ดียิ่งขึ้น ในที่สุด หนังสือเรื่อง “เด็กอะไรไม่ไปโรงเรียน” ก็เสร็จออกมาเป็นรูปร่างได้ดังความตั้งใจของพวกเขา เมื่อประชาสัมพันธ์ออกไปก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จนตอนนี้พิมพ์ครั้งที่สองแล้ว ผู้สนใจสามารถติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมกับเยาวชนกลุ่มนี้ได้ที่เพจเฟสบุ๊ค เด็กอะไร?ไม่ไปโรงเรียน

โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำเยาวชนเพื่อพัฒนาสังคม จ.บุรีรัมย์

ความกดดันที่ถูกมองว่าเป็นวัยรุ่นทำตัวไร้สาระ ไม่สามารถทำงานอะไรด้วยตัวเองได้ และความไม่ไว้วางใจจากผู้ใหญ่ เป็นแรงผลักสำคัญที่ทำให้เกิดโครงการนี้ขึ้นในปี พ.ศ.2546

1 4 5 6 7 8