บทความ : โครงการ Big Dream for Big Smile สานฝันที่ยิ่งใหญ่ คืนความสดใสสู่ท้องถิ่น

ผู้เขียน ZaaZaa สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้ซ่าจะพาเพื่อนๆ พี่ๆ และน้องๆ ลงมาติดตามกิจกรรมของโครงการ Big Dream for Big Smile สานฝันที่ยิ่งใหญ่ คืนความสดใสสู่ท้องถิ่น ที่จัดขึ้นค่ะ ซึ่งก่อนที่จะเกิดกิจกรรมนี้ขึ้นมานั้น ทางโครงการได้จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับยาเสพติดมาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งซ่าจะบอกว่าได้รับความสนใจจากเยาวขนในพื้นที่เป็นอย่างมากเลยค่ะ หลังจากจัดอบรมให้กับเยาวชนที่สนใจแล้ว กิจกรรมที่ตามมาก็เป็นกิจกรรมที่ซ่าพาทุกคนมาเยี่ยมชมวันนี้ คือ การจัดการแข่งขันวิ่งมินิฟันรัน (Mini-Fun Run) ภายใต้ชื่อกิจกรรม “คนละก้าว…อ้าว!ถึงแล้ว” เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของคนในตำบลมะนังดาลำ และการสร้างกลุ่มเยาวชนผ่านกิจกรรม “ฝันให้ไกลใส่ใจท้องถิ่น” ให้กลุ่มเยาวชนในพื้นที่มีจิตสำนึกที่ดีต่อชุมชนและเป็นการปูทางให้กลุ่มเยาวชนดังกล่าวสามารถสานต่อแนวคิดและอุดมการณ์ของกิจกรรมที่ได้ทำไปยังชุมชน เพื่อมิให้เยาวชนหันเหความสนใจไปทางยาเสพติด นอกจากนี้ยังช่วยให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย นอกจากนี้ซ่าคิดว่ากิจกรรมที่เยาวชนที่มาร่วมโครงการช่วยให้กลุ่มเยาวชนดังกล่าวหันมาให้ความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนมากยิ่งขึ้นและได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ สามารถสร้างกิจกรรมอื่นๆที่ช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชนให้ห่างไกลยาเสพติดได้ ซึ่งจะช่วยให้คนในพื้นที่ดำเนินงานมีชีวิตความเป็นอยู่และมีสุขภาวะที่ดีกว่าเดิม

โครงการ Big dream for big smile สานฝันที่ยิ่งใหญ่คืนความสดใสสู่ท้องถิ่น

พื้นที่ดำเนินงาน : ต.มะนังดาลำ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น “กลุ่ม Big dream” เป็นกลุ่มเยาวชนกลุ่มหนึ่งที่มีใจรักในการเป็นจิตอาสาและพัฒนาช่วยเหลือสังคม พวกเขาเล็งเห็นปัญหาเรื่องยาเสพติดว่าเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ จึงได้หยิบมาเป็นโจทย์ในการสร้างโครงการในครั้งนี้ โครงการ Big dream for big smile สานฝันที่ยิ่งใหญ่คืนความสดใสสู่ท้องถิ่น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนภายในชุมชนตั้งแต่เยาวชนจนถึงวัยผู้ใหญ่ ให้ห่างไกลปัญหายาเสพติด เพื่อให้ได้มาซึ่งรอยยิ้มแห่งความสุข โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนภายในชุมชนตั้งแต่เยาวชนจนถึงวัยผู้ใหญ่ ให้ห่างไกลยาเสพติด 2) เพื่อสร้างกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ ได้สานต่อแนวคิดและอุดมการณ์ของกิจกรรมที่ได้ทาไปยังชุมชน และ 3) เพื่อให้คนในพื้นที่ดาเนินงานมีชีวิตความเป็นอยู่และมีสุขภาวะที่ดีกว่าเดิม โครงการ Big Dreams for Big Smile จัดกิจกรรมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้เยาวชนในชุมชน ทั้งการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษภัยยาเสพติดและพัฒนาทักษะชีวิตป้องกันยาเสพติด และกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย ได้แก่ การวิ่ง การแข่งฟุตบอล ซึ่งจะทำให้เยาวชนในพื้นที่ได้ดูแลสุขภาพและทำกิจกรรมสร้างสรรค์ นับว่าได้ทั้งความสนุกสนานและทักษะชีวิตไปพร้อมๆ กัน ติดตามกิจกรรมของกลุ่ม Big dream ได้ที่เพจเฟสบุ๊ค Big dream

โครงการเด็กไม่ไปโรงเรียนมาเขียนหนังสือ

พื้นที่ดำเนินงาน : จ.เชียงใหม่ สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น (YIM61) เด็กบ้านเรียน หรือ เด็กโฮมสคูล มักพบเจอคำถามมากมายเกี่ยวกับรูปแบบการศึกษาที่พวกเขาเลือก ทั้งที่ถามด้วยความต้องการที่จะเข้าใจ และเป็นทางเลือกในการจัดการศึกษาให้ตนเองและลูกหลาน ไปจนถึงการตั้งคำถามอย่างไม่เข้าใจ ทำให้กลุ่มเด็กอะไรไม่ไปโรงเรียน อันประกอบไปด้วยเหล่าสมาชิกเด็กบ้านเรียนในเชียงใหม่เป็นส่วนใหญ่และเพื่อนๆ เกิดแรงบันดาลใจที่จะสื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษาทางเลือกของพวกเขาออกสู่สาธารณะมากขึ้น จึงได้ริเริ่มโครงการเด็กไม่ไปโรงเรียนมาเขียนหนังสือขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ให้คนรู้จักการศึกษาทางเลือกแบบบ้านเรียนมากขึ้น โครงการเด็กไม่ไปโรงเรียนมาเขียนหนังสือ เลือกการสื่อสารสู่สาธารณะด้วยการทำหนังสือ โดยออกสัมภาษณ์กรณีศึกษาที่เป็นเด็กบ้านเรียนในประเด็นคำถามที่มักถูกถามบ่อยครั้ง ตลอดจนคำถามที่ต้องการอธิบายให้สังคมเข้าใจมากขึ้น รวบรวมข้อมูลและถ่ายทอดออกมาเป็นหนังสือเรื่องแต่งที่มีฐานข้อมูลจริงและภาพประกอบสไตล์วัยรุ่นเพื่อให้น่าอ่าน ซึ่งกว่าจะได้หนังสือออกมา พวกเขายังต้องปรึกษาวิธีการทำงานหนังสือกับนักเขียนมืออาชีพ เพื่อให้ได้แนวทางการทำงานและคำแนะนำเพื่อปรับปรุงงานให้ดียิ่งขึ้น ในที่สุด หนังสือเรื่อง “เด็กอะไรไม่ไปโรงเรียน” ก็เสร็จออกมาเป็นรูปร่างได้ดังความตั้งใจของพวกเขา เมื่อประชาสัมพันธ์ออกไปก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จนตอนนี้พิมพ์ครั้งที่สองแล้ว ผู้สนใจสามารถติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมกับเยาวชนกลุ่มนี้ได้ที่เพจเฟสบุ๊ค เด็กอะไร?ไม่ไปโรงเรียน

จากคำถาม สู่เรื่องเล่าของเด็กอะไรไม่ไปโรงเรียน

เพราะพวกเขาเลือกที่จะจัดการการเรียนรู้ของตนเองในวิถีทางเลือก คำถามมากมายจึงประดังเข้ามาจนบางครั้งก็รู้สึกไม่อยากตอบ หรือแม้จะตอบ แต่ก็ยังต้องเผชิญกับปฏิกิริยาหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นบวกและเป็นลบ ในขณะเดียวกัน เยาวชนกลุ่ม “วัยรุ่นบ้านเรียนล้านนา” ก็พบว่ามีเพื่อนๆ วัยเดียวกัน และครอบครัวอีกหลายครอบครัวที่ต้องการทางออกในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองต่อความชีวิตตนเองได้มากกว่าการเข้าระบบ แต่พวกเขายังขาดข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจเลือกปรับเปลี่ยนวิถีการเรียนรู้ของตนเอง หนังสือ “เด็กอะไรไม่ไปโรงเรียน” จึงเกิดขึ้น ด้วยความพยายามของกลุ่มวัยรุ่นบ้านเรียนล้านนา แม้จะเริ่มต้นด้วยความรู้และประสบการณ์ในการทำหนังสือแทบจะเป็นศูนย์ แต่พวกเขาก็มีฐานความสามารถด้านศิลปะ และเครือข่ายผู้ใหญ่ใจดีที่เชี่ยวชาญด้านการทำหนังสือคอยให้คำแนะนำอยู่ตลอด แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้พวกเขาทำหนังสือเล่มนี้ได้สำเร็จ คือ ความตั้งใจและสู้ไม่ถอยของพวกเขาเอง ตั้งแต่ขั้นตอนการทำหนังสือ ไปจนถึงขั้นตอนการประชาสัมพันธ์และจำหน่ายหนังสือ น้องมายด์ น.ส.กีรติกา มหัทธนผล เคยเล่าว่า “ต้องการจำหน่ายหนังสือ เพื่อนำส่วนที่เป็นกำไรไปทำกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ ของกลุ่มต่อเนื่อง ยังมีกิจกรรมหลายอย่างที่หนูและเพื่อนๆ อยากทำและเป็นประโยชน์ต่อชุมชน” หลังจากแนะนำหนังสือไปได้ไม่นาน ก็มีคนสนใจสั่งหนังสือเข้ามามากมาย จนในที่สุดก็ต้องตีพิมพ์เป็นครั้งที่สอง…กำไรจากหนังสือเล่มนี้อาจจะยังไม่มากพอให้กลุ่มวัยรุ่นบ้านเรียนล้านนาได้ไปทำกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ แต่หนังสือเล่มนี้น่าจะช่วยตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัว หรือ การทำบ้านเรียน อันเป็นวิถีการเรียนรู้ของน้องๆ กลุ่มนี้ได้ดี ที่สำคัญ หนังสือเล่มนี้คือกระบวนการเรียนรู้การสร้างประโยชน์ให้ผู้อื่นในแบบที่น้องๆ คนรุ่นใหม่เลือกที่จะลงมือทำเองทั้งกระบวนกการ เด็กนำผู้ใหญ่หนุน…อย่างแท้จริง หวังว่าน้องๆ จะไม่หยุดแค่นี้ จะมีผลงานสร้างสรรค์ดีๆ ออกมาอีกในไม่ช้า

YIM61 คัดเข้มโครงการเพื่อสังคมจากฝีมือเยาวชนเหนือ – ใต้ ลุ้น 25 โครงการผ่านรอบสุดท้ายเตรียมเฮวันนี้

โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น หรือ YIM61 จัดประชุมเพื่อคัดเลือกโครงการย่อยรอบสุดท้ายขึ้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 โดยได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจาก สสส. ท่าน ผศ.ดร.เพิ่มศิริ นิติมานพ ผู้เชี่ยวชาญด้านงานพัฒนาเด็กและสุขภาพระดับนานาชาติ คุณกฤตยา ศรีสรรพกิจ กระบวนกรอิสระด้านการพัฒนามนุษย์ และคุณนิตยา นิมิตรพรสุโข นักพัฒนาสังคมจากองค์กรเอกชน ร่วมเป็นคณะกรรมการคัดเลือกโครงการย่อยในครั้งนี้ โดยคณะกรรมการได้ทำการบ้านมาอย่างดี ไม่เพียงแต่คัดเลือก แต่ยังได้กรุณาให้คำแนะนำอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงการย่อยให้เกิดผลดีต่อทั้งกับผู้ดำเนินโครงการเองและกับกลุ่มเป้าหมายที่น้องๆ เยาวชนจะต้องไปทำงาน หลังจากกระบวนการคัดเลือกเข้มข้นหนึ่งวันเต็มๆ ในที่สุดเราก็ได้โครงการย่อยทั้ง 25 โครงการที่จะได้ทำงานกันต่อในปีนี้ พี่ๆ ทีมงาน YIM61 ขอให้กำลังใจทุกโครงการย่อยที่ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายให้ทำงานอย่างตั้งใจ ส่วนโครงการย่อยที่ไม่ผ่านการคัดเลือกในครั้งนี้ก็ขอให้อย่าเพิ่งท้อใจ ยังมีโอกาสอีกมากมายรออยู่ ขอให้มุ่งมั่นพัฒนาตนเองต่อไปเรื่อยๆ ติดตาม ประกาศผลการคัดเลือกโครงการย่อยรอบสุดท้าย ได้ที่ หน้าประกาศผล

1 4 5 6 7