โครงการการสร้างแอพพลิเคชั่นเกม AR “ARONE” เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงใหม่

พื้นที่ดำเนินงาน : จ.เชียงใหม่ สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น (YIM61) ด้วยความสนใจในเทคโนโลยี และประสบการณ์ด้านโปรแกรมการสร้างเกมที่ได้เรียนรู้มา ประกอบกับทักษะด้านศิลปะ และความสนใจด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้กลุ่มเด็กบ้านเรียนรวมตัวกันคิดสร้างแอพพลิเคชั่นเกม AR ที่ใช้เป็นสื่อเข้าถึงแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ง่ายและน่าสนใจมากขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “ARONE” โครงการการสร้างแอพพลิเคชั่นเกม AR “ARONE” เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแอพพลิเคชั่นเกม AR “ARONE” ที่ใช้เป็นสื่อเข้าถึงแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ง่ายและน่าสนใจมากขึ้น เกม ARONE สร้างขึ้นด้วยโปรแกรม Construct 2 มีการนำเทคโนโลยี AR หรือ Augmented Reality ซึ่งเป็นการรวมสภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือนในโปรแกรมเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นภาพและสถานการณ์จำลอง วัตถุเสมือนที่พูดถึงนี้เป็นวัตถุที่ไม่มีอยู่ในโลกความจริง แต่ผู้ใช้จะสามารถเห็นได้เมื่อมองผ่านอุปกรณ์บางอย่าง เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แว่นตา VR ฯลฯ ทำให้ผู้ใช้เหมือนได้ประสบกับเหตุการณ์จำลองนั้นจริง ๆ และมีการนำเทคโนโลยี GPS ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการบอกตำแหน่งของวัตถุต่าง ๆ บนโลกผ่านดาวเทียมมาใช้ในการนำทางในตัวเกม เพื่อให้ผู้เล่นสามารถเดินทางไปที่สถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องการได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีอยู่ในโทรศัพท์มือถือยุคใหม่เกือบทั้งหมด […]

โครงการสร้างภาคีเครือข่ายร้านค้าชุมชนสู่วิถีการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

พื้นที่ดำเนินงาน : อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น จากประสบการณ์เมื่อตอน YIM 59 ทีมงานร้านค้าชุมชนของศูนย์การเรียนโจ๊ะมาโลลือหล่าที่ริเริ่มและลงมือด้วยนักเรียนของศูนย์ก็ได้มีการปรับตัว พวกเขาได้เรียนรู้การทำร้านค้าให้เหมาะกับชุมชนและศักยภาพของตนเองในการบริหารจัดการ แม้จะไม่ได้มีรูปแบบสหกรณ์เต็มตัว แต่ผลงานจากเมื่อปี 2559 ที่ได้มีการรวบรวมสินค้าของชาวบ้านในบ้านสบลาน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ไปจำหน่ายงานต่างๆ ที่ไปร่วม ก็ทำให้สินค้าของพี่น้องปกากะญอบ้านสบลานเป็นที่รู้จัก สร้างรายได้พอสมควร ทำให้ศูนย์การเรียนอื่นๆ และชุมชนอื่นๆ ที่เป็นเครือข่ายกันอยากลองทำบ้าง ในปี 2561 นี้จึงได้มีการร่วมมือกับภาคีและดำเนินการต่อเนื่องในชื่อโครงการสร้างภาคีเครือข่ายร้านค้าชุมชนสู่วิถีการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อระดมทุนหางบประมาณในการทํางาน 2) เพื่อให้คนรู้จักร้านค้ามากขึ้น 3) เพื่อสนับสนุนให้ชาวบ้านรักษาวัฒนธรรมเดิมเห็นความสําคัญของวัฒนธรรมเดิมและมีการต่อยอดผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น เช่น(ผลิตภัณฑ์ของดั่งเดิม) ผ้าทอมือเช่น เสื้อ ผ้าพันคอ ผ้าห่ม ย่าม และน้ำผึ้ง และ 4) เพื่อสร้างและขยายเครือข่ายสมาชิกร้านค้าชุมชนที่มีส่วนร่วมในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนระหว่างชุมชนและโรงเรียน ในปีนี้ ทีมงานร้านค้า จึงได้มีการปรับรูปแบบ และสร้างช่องทางติดต่อและซื้อขายสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น คือ เพจ โจ๊ะ IDEE ทางร้านยังได้มีการรวบรวมสินค้าเพิ่มเติมจากชุมชนเครือข่าย […]

บทความ : โครงการสร้างภาคีเครือข่ายร้านค้าชุนชนสู่วิถีพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

น้องชาติ หรือ นายสุรชาติ เด็กน้อยจากเครือข่าย โจ๊ะมาโลลือหล่า ณ หมู่บ้านสบลาน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เจ้าของโครงการสหกรณ์ร้านค้าโรงเรียนและชุมชน เมื่อปี 59 จากการทำโครงการในครั้งนั้น ชาติสามารถจัดตั้งสหกรณ์ในชุมชน และได้พัฒนาต่อยอดมาเป็นโครงการ “สร้างภาคีเครือข่ายร้านค้าชุนชนสู่วิถีพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน” เนื่องจากชาติเล็งเห็นว่าการสร้างเครือข่ายนั้น สามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และยังสามารถทำให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน การสร้างเครือข่ายร้านค้าชุมชนในปีนั้น เน้นไปที่การช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันของคนในชุมชน ในการรวบรวมผลิตภัณฑ์ของชุมชน แต่จากประสบการณ์ในปีก่อน ทำให้ชาติเห็นว่านอกจากการรวบรวมผลิตภัณฑ์ในชุมชนแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่าง ที่จะทำให้ชุมชนมีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์นั้นคือ “ตลาด” ที่จะนำสิ่งเหล่านั้นไปขาย ทำให้ชาติต้องเดินสายในการสำรวจและสร้างเครือข่ายการตลาดที่สามารถขายสินค้าของคนในชุมชนได้ มาร่วมติดตามและเป็นกำลังใจให้กับน้องชาติ กับการสร้างเครือข่ายเพื่อให้ชุมชนของเขาอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยไม่ต้องไปหางานทำในตัวเมือง อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้คงอยู่ต่อไป….

โครงการ เยาวชนรุ่นใหม่อนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อสืบสานแหล่งอาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน

พื้นที่ดำเนินงาน : ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น โครงการเยาวชนรุ่นใหม่อนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อสืบสานแหล่งอาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน มีที่มาจากการที่กลุ่มผู้ดำเนินโครงการเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาพื้นบ้านในฐานะที่เป็นสิ่งสะท้อนความคิดสร้างสรรค์ของชาวบ้านในท้องถิ่นในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีอยู่เดิมในท้องถิ่นก็เริ่มจะสูญหายไป เช่น การทำประมงชายฝั่งโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนเป็นเครื่องมือทำประมง โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และยั่งยืน โดยการสร้างแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำในทะเล 2) เพื่อสร้างจิตสำนึกและสร้างความตระหนักให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ และพัฒนาชุมชนของตัวเอง และ 3) เพื่อเสริมสร้างความรู้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานสายกลาง สามารถพึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนสามารถสืบสานวิถีอาชีพและภูมิปัญญาพื้นบ้านให้ดำรงสืบต่อไป กิจกรรมสำคัญ คือ การจัดกิจกรรมฝึกอบรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในส่วนของความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านประมงพื้นบ้านจากปราชญ์ชาวบ้านเอง และการศึกษาดูงานการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาชีพจากโครงการในพระราชดำริและชุมชนต้นแบบ

บทความ : โครงการ เยาวชนรุ่นใหม่อนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อสืบสานแหล่งอาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน

ผู้เขียน : ZaaZaa ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลในปัจจุบันมีแนวโน้มน้อยลงในทุกๆวัน จะเป็นอย่างไรหากคนในชุมชนมาร่วมดูแลและรักษาทรัพยากรเหล่านั้นให้คงอยู่ต่อไป นั่นคือแนวความคิดที่ทางผู้จัดโครงการอยากให้เกิดขึ้น หากไม่เริ่มต้นที่ตนเองแล้วจะไปเริ่มที่ใคร เพื่อให้มีแหล่งสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ในพื้นที่ให้ช่วยกันรักษาและอนุรักษ์ให้คงอยู่ต่อไป อีกทั้งเป็นการให้เด็กๆได้เรียนรู้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยการพึ่งพาตนเอง คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผลและเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเพื่อเป็นประโยชน์ให้กับคนในชุมชนในการประกอบอาชีพรวมไปถึงรักษาระบบนิเวศและทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งในพื้นที่อีกด้วย โดยทางโครงการได้พาน้องไปไปเรียนรู้ชุมชนต้นแบบที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่าง ณ บ้านหัวเขา จังหวัดสงขลา สำหรับกิจกรรมที่ผู้จัดได้จัดขึ้นในวันนี้คือกิจกรรมทัศนศึกษาชุมชนต้นเเบบ การพาเด็กๆไปศึกษาดูงานการทำบ้านปูว่าชุมชนนี้ความเป็นมาอย่างไร ทำไมถึงเป็นแหล่งทรัพยากรที่สมบูรณ์แบบนี้ และมีกิจกรรมให้น้องๆได้ปล่อยปูอีกด้วย หลังจากทำกิจกรรมผ่านไปแล้ว น้องๆได้กลับมาถอดบทเรียนจากการไปศึกษาดูงานว่าได้อะไรบ้างเเละการนำกลับมาประยุกต์ใช้ในชุมชนของเรา ซ่าเชื่อว่าหลังจากจบกิจกรรมนี้ไปน้องๆที่มาเข้าร่วมกิจกรรมจะมีความกระตือรือร้นและมีใจอยากจะรักษาทรัพยากรในชุมชนให้อยู่กับน้องๆต่อไปเรื่อยๆอย่างแน่นอน

1 10 11 12 13 14 19