โครงการการสร้างเสริมอาชีพเสริมแก่เยาวชนที่ศึกษาภายใต้ศูนย์การศึกษานอกระบบ ต.ตะลุโบ อ.เมือง จ.ปัตตานี

พื้นที่ดำเนินงาน : ต.ตะลุโบ อ.เมือง จ.ปัตตานี สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น ปัญหาหนึ่งที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดปัตตานี้ คือ ปัญหารายได้ของประชาชน เด็กและเยาวชนในพื้นที่ก็ได้รับผลกรระทบจากปัญหาดังกล่าว ทำให้ไม่มีรายได้พอที่จะใช้จ่ายในการดำรงชีวิต รวมไปจนถึงค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ ที่จะทำให้พัฒนาชีวิตให้ก้าวหน้าได้ เช่น การศึกษา ดังนั้น กลุ่มผู้ดำเนินโครงการนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จึงคิดว่าเยาวชนจำเป็นต้องมีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ตนเอง และสามารถช่วยเหลือครอบครัวได้ จึงคิดโครงการการสร้างเสริมอาชีพเสริมแก่เยาวชนที่ศึกษาภายใต้ศูนย์การศึกษานอกระบบขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ผ่านการกระบวนการอบรมด้านการเสริมอาชีพทางเลือก และ 2) เพื่อส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชน และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยดำเนินการกับกลุ่มเยาวชนในโรงเรียนการศึกษานอกระบบ ในพื้นที่ ต.ตะลุโบ อ.เมือง จ.ปัตตานี โครงการนี้ได้จัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีทางเลือกในการประกอบอาชีพเสริมเพื่อให้มีรายได้มากขึ้น โดยการรู้จักการเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับตนองและครอบครัว สร้างแรงจูงใจให้เยาวชนได้เรียนรู้ พัฒนา ปรับปรุงอาชีพและความเป็นอยู่ของชีวิตของตนเองให้ดีขึ้น รวมทั้งเป็นทางเลือกให้กับผู้ว่างงาน ตกงาน ในการประกอบอาชีพที่หลากหลาย

โครงการส่งเสริมศักยภาพนักเขียนรุ่นใหม่

พื้นที่ดำเนินงาน : อ.เมือง จ.ยะลา สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น กลุ่มเยาวชนโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเขียนรุ่นใหม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานเขียนต่างๆ ทำให้ทราบว่า ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีนักเรียนและเยาวชนที่มีทักษะในการใช้ภาษามลายูเบื้องต้นงานเขียนอยู่พอสมควร จึงควรมีการต่อยอดความสามารถเพื่อให้ได้สร้างผลงานที่เป็นรูปธรรม และได้ตีพิมพ์หนังสือเป็นของตัวเอง ซึ่งตอบสนองต่อความต้องการหนังสือมลายูในพื้นที่ที่ยังถือว่ามีน้อยมาก ผู้ที่สนใจภาษามลายูและรักการอ่านหนังสือมลายูจะได้มีผลงานหนังสือเพิ่มขึ้นด้วย จึงจัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่ออบรมทักษะการเขียนวรรณกรรมภาษามลายูแก่นักเรียนและเยาวชนที่มีทักษะในด้านภาษา 2) เพื่อจัดพิมพ์ผลงานการเขียนของนักเรียนและเยาวชน และ 3) เพื่อเพิ่มจำนวนหนังสือวรรณกรรมภาษามลายูให้แก่นักเรียนและเยาวชน โครงการส่งเสริมศักยภาพนักเขียนรุ่นใหม่รับสมัครเยาวชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมอบรมทักษะการเขียน และผลักดัน ส่งเสริม ให้เขียนผลงานออกมารวมเล่ม ตีพิมพ์เป็นรูปธรรม จนในที่สุดก็ได้ผลงานหนังสือ ชื่อ Diary My Heart ขึ้นมา และได้มีการจัดงานเปิดตัวหนังสือที่น่ารักอบอุ่นขึ้น เพื่อประชาสัมพันธ์ให้คนที่สนใจหนังสือภาษามลายูได้รู้จักหนังสือเล่มนี้มากขึ้น

โครงการ ห้องเรียนธรรมชาติ “กอดฮาลา-บาลา”

พื้นที่การดำเนินงาน : อ.แว้ง จ.นราธิวาส สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น กลุ่มยัง…ยิ้ม(Youth Smile) เป็นกลุ่มคนแว้งรุ่นใหม่ที่ใส่ใจในเรื่องท้องถิ่นของตนเอง และมีประสบการณ์การทำงานในพื้นที่โดยเฉพาะในประเด็นการอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ทางภาคใต้ของประเทศไทย มีความอุดมสมบูรณ์มาก เช่น ป่าบูโด ป่าพรุโตะแดง ป่าฮาลา – บาลา นักท่องเที่ยวหลายคนอยากที่จะสัมผัสกับป่าภาคใต้ที่บริสุทธิ์และมีความงดงามของนกเงือกที่หาได้ยาก ป่าไม้ถือเป็นห้องเรียนธรรมชาติที่เรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ทุกสิ่ง ทุกคน แต่ชาวบ้านและประชาชนท้องถิ่น ชุมชน หรือคนในพื้นที่ใกล้เคียงยังไม่นิยมมาท่องเที่ยวหรือศึกษาเรียนรู้ในป่าของพื้นที่มากนัก กลุ่มยัง…ยิ้ม(Youth Smile) จึงได้จัดโครงการ “ห้องเรียนธรรมชาติ” สร้างห้องเรียนธรรมชาติขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้เด็กๆและเยาวชนมีแหล่งเรียนรู้ที่ทรงคุณค่าใกล้บ้าน ได้ใช้พื้นที่ ชุมชน สังคมในพื้นที่บ้านเกิดตัวเองให้เป็นประโยชน์ 2) เพื่อให้เด็กๆ เยาวชนและประชาชนทั่วไปมีความตระหนักรู้ และมีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยการสำนึกรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า 3) เพื่อให้ชุมชนมีพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้ทรัพยากรในชุมชน เป็นตัวกลางในการสื่อสาร เชื่อมโยงใจสู่ใจ และ 4) ผู้คนเข้าถึงธรรมชาติอย่างถูกต้อง และได้เป็นส่วนหนึ่งในการปกปักรักษาธรรมชาติร่วมกันต่อไป กิจกรรมของโครงการนี้ เน้นกลุ่มเป้าหมายที่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ โดยมีการจัดกิจกรรมกอด..ฮาลาบาลา ชวนเยาวชนมาสื่อความหมายธรรมชาติ จัดกิจกรรม […]

โครงการ Power Kids พลังจิ๋ว คิดส์ทำได้

พื้นที่ดำเนินงาน : อ.รามัน จ.ยะลา สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น กลุ่มนักศึกษาวิชาชีพครู ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการรักษาสุขภาพของนักเรียน จึงอยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์การมีสุขภาพดี จึงได้รวมตัวกันคิดโครงการที่จะช่วยให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนได้มีพฤติกรรมสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ โครงการ Power Kids พลังจิ๋ว คิดส์ทำได้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายเเละสุขภาพจิตให้กับนักเรียนเเละบุคลากรในโรงเรียนมีความเเข็งเเรงสมบูรณ์ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง 2) เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำให้นักเรียนเเละบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้เกียวกับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ 3) เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเเละบุคลากรในโรงเรียนออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และ 4) เพื่อส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ กิจกรรมที่จัดมี 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมพลังจิ๋ว care teeth ชวนนักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพฟันและวิธีดูแล และกิจกรรมพลังจิ๋ว work out ชวนนักเรียนมาออกกำลังกายด้วยการเล่นเกมกลางแจ้งสนุกๆ ซึ่งนักเรียนต่างก็ได้รับความสนุกสนานไปพร้อมๆ กับความรู้

โครงการจิตวิทยากับกระบวนการสร้างสันติภาพของสภานักเรียนในสามจังหวัดชายแดนใต้

พื้นที่ดำเนินการ : อ.บันนังสตาร์ จ.ยะลา สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น ความขัดแย้งในสังคมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความรุนแรง ประกอบกับสื่อปัจจุบัน และสภาพปัญหาสังคมต่างๆ ทำให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง การใช้จิตวิทยาการสื่อสารเป็นเครื่องมือทำให้เกิดสันติภาพได้ รวมถึงกระบวนการสันติภาพที่ประกอบด้วย สันติศึก สันติวิธีและสันติภาพ นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาด้านจิตวิทยาเฉพาะบุคคลแล้ว ยังสามารถนำไปสู่สันติภาพในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ด้วย คณะกรรมการสภานักเรียนและครูที่ปรึกษาโรงเรียนอาลาวียะห์วิทยาจึงริเริ่มโครงการจิตวิทยากับกระบวนการสร้างสันติภาพของสภานักเรียนสามจังหวัดชายแดนใต้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้สภานักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจการใช้จิตวิทยาและกระบวนการสร้างสันติภาพ 2) เพื่อให้สภานักเรียนเป็นแกนหลักในการนำจิตวิทยาและกระบวนการสร้างสันติภาพไปใช้ในองค์กรและชุมชนของตนเอง และ 3) เพื่อให้เกิดสันติภาพภายในโรงเรียน องค์กร ชุมชน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และสังคมโลก โครงการจิตวิทยากับกระบวนการสร้างสันติภาพของสภานักเรียนสามจังหวัดชายแดนใต้ ได้จัดกิจกรรมให้สภานักเรียนในอำเภอบันนังสตาร์ จังหวัดยะลาเข้าใจการใช้จิตวิทยากับกระบวนการสร้างสันติภาพในโรงเรียนสู่สันติภาพชายแดนใต้ โดยใช้กระบวนการฝึกอบรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การค้นหาตัวเอง การสื่อสารเชิงบวก กระบวนการสร้างสันติภาพ สันติภาพในแบบจิตวิทยา และการสร้างสื่อสันติภาพในรูปแบบหนังสั้น

1 7 8 9 10 11 19