โครงการเด็กไม่ไปโรงเรียนมาเขียนหนังสือ

พื้นที่ดำเนินงาน : จ.เชียงใหม่ สนับสนุนโดย : โครงการเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อท้องถิ่น (YIM61) เด็กบ้านเรียน หรือ เด็กโฮมสคูล มักพบเจอคำถามมากมายเกี่ยวกับรูปแบบการศึกษาที่พวกเขาเลือก ทั้งที่ถามด้วยความต้องการที่จะเข้าใจ และเป็นทางเลือกในการจัดการศึกษาให้ตนเองและลูกหลาน ไปจนถึงการตั้งคำถามอย่างไม่เข้าใจ ทำให้กลุ่มเด็กอะไรไม่ไปโรงเรียน อันประกอบไปด้วยเหล่าสมาชิกเด็กบ้านเรียนในเชียงใหม่เป็นส่วนใหญ่และเพื่อนๆ เกิดแรงบันดาลใจที่จะสื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษาทางเลือกของพวกเขาออกสู่สาธารณะมากขึ้น จึงได้ริเริ่มโครงการเด็กไม่ไปโรงเรียนมาเขียนหนังสือขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ให้คนรู้จักการศึกษาทางเลือกแบบบ้านเรียนมากขึ้น โครงการเด็กไม่ไปโรงเรียนมาเขียนหนังสือ เลือกการสื่อสารสู่สาธารณะด้วยการทำหนังสือ โดยออกสัมภาษณ์กรณีศึกษาที่เป็นเด็กบ้านเรียนในประเด็นคำถามที่มักถูกถามบ่อยครั้ง ตลอดจนคำถามที่ต้องการอธิบายให้สังคมเข้าใจมากขึ้น รวบรวมข้อมูลและถ่ายทอดออกมาเป็นหนังสือเรื่องแต่งที่มีฐานข้อมูลจริงและภาพประกอบสไตล์วัยรุ่นเพื่อให้น่าอ่าน ซึ่งกว่าจะได้หนังสือออกมา พวกเขายังต้องปรึกษาวิธีการทำงานหนังสือกับนักเขียนมืออาชีพ เพื่อให้ได้แนวทางการทำงานและคำแนะนำเพื่อปรับปรุงงานให้ดียิ่งขึ้น ในที่สุด หนังสือเรื่อง “เด็กอะไรไม่ไปโรงเรียน” ก็เสร็จออกมาเป็นรูปร่างได้ดังความตั้งใจของพวกเขา เมื่อประชาสัมพันธ์ออกไปก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จนตอนนี้พิมพ์ครั้งที่สองแล้ว ผู้สนใจสามารถติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมกับเยาวชนกลุ่มนี้ได้ที่เพจเฟสบุ๊ค เด็กอะไร?ไม่ไปโรงเรียน

จากคำถาม สู่เรื่องเล่าของเด็กอะไรไม่ไปโรงเรียน

เพราะพวกเขาเลือกที่จะจัดการการเรียนรู้ของตนเองในวิถีทางเลือก คำถามมากมายจึงประดังเข้ามาจนบางครั้งก็รู้สึกไม่อยากตอบ หรือแม้จะตอบ แต่ก็ยังต้องเผชิญกับปฏิกิริยาหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นบวกและเป็นลบ ในขณะเดียวกัน เยาวชนกลุ่ม “วัยรุ่นบ้านเรียนล้านนา” ก็พบว่ามีเพื่อนๆ วัยเดียวกัน และครอบครัวอีกหลายครอบครัวที่ต้องการทางออกในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองต่อความชีวิตตนเองได้มากกว่าการเข้าระบบ แต่พวกเขายังขาดข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจเลือกปรับเปลี่ยนวิถีการเรียนรู้ของตนเอง หนังสือ “เด็กอะไรไม่ไปโรงเรียน” จึงเกิดขึ้น ด้วยความพยายามของกลุ่มวัยรุ่นบ้านเรียนล้านนา แม้จะเริ่มต้นด้วยความรู้และประสบการณ์ในการทำหนังสือแทบจะเป็นศูนย์ แต่พวกเขาก็มีฐานความสามารถด้านศิลปะ และเครือข่ายผู้ใหญ่ใจดีที่เชี่ยวชาญด้านการทำหนังสือคอยให้คำแนะนำอยู่ตลอด แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้พวกเขาทำหนังสือเล่มนี้ได้สำเร็จ คือ ความตั้งใจและสู้ไม่ถอยของพวกเขาเอง ตั้งแต่ขั้นตอนการทำหนังสือ ไปจนถึงขั้นตอนการประชาสัมพันธ์และจำหน่ายหนังสือ น้องมายด์ น.ส.กีรติกา มหัทธนผล เคยเล่าว่า “ต้องการจำหน่ายหนังสือ เพื่อนำส่วนที่เป็นกำไรไปทำกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ ของกลุ่มต่อเนื่อง ยังมีกิจกรรมหลายอย่างที่หนูและเพื่อนๆ อยากทำและเป็นประโยชน์ต่อชุมชน” หลังจากแนะนำหนังสือไปได้ไม่นาน ก็มีคนสนใจสั่งหนังสือเข้ามามากมาย จนในที่สุดก็ต้องตีพิมพ์เป็นครั้งที่สอง…กำไรจากหนังสือเล่มนี้อาจจะยังไม่มากพอให้กลุ่มวัยรุ่นบ้านเรียนล้านนาได้ไปทำกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ แต่หนังสือเล่มนี้น่าจะช่วยตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัว หรือ การทำบ้านเรียน อันเป็นวิถีการเรียนรู้ของน้องๆ กลุ่มนี้ได้ดี ที่สำคัญ หนังสือเล่มนี้คือกระบวนการเรียนรู้การสร้างประโยชน์ให้ผู้อื่นในแบบที่น้องๆ คนรุ่นใหม่เลือกที่จะลงมือทำเองทั้งกระบวนกการ เด็กนำผู้ใหญ่หนุน…อย่างแท้จริง หวังว่าน้องๆ จะไม่หยุดแค่นี้ จะมีผลงานสร้างสรรค์ดีๆ ออกมาอีกในไม่ช้า

รักษ์ห้วยโจ้ จากมือลูกแม่โจ้

ครั้งแรกไม่คิดว่า น้องๆ นักศึกษาจะทำได้ โอ้..นับถือจริง น้องๆ แม่โจ้ที่ไปในวันนั้นทุกคนลงไปในคลองที่มีน้ำสกปรก ขยะหลายคันรถที่น้องๆ ช่วยเก็บขึ้นมา ส่วนใหญ่เป็นขยะจากครัวเรือนทิ้งลงมาในลำห้วย ในการไปทำความสะอาดรอบสอง น้ำในคลองสะอาดขึ้นมาก สามารถสังเกตเห็นสิ่งมีชีวิตได้มากขึ้น พบว่าในคลองมีขยะน้อยลง มีชาวบ้านและผู้นำชุมชนมาร่วมไม้ร่วมมือกัน

ละอ่อนน้อย (เด็กน้อย) ทำกิจกรรมอาสาเพื่อเพื่อน

เป็นค่ายที่เล่นเกมเยอะ สันทนาการเยอะ เหมาะกับช่วงวัยของน้องๆ ที่มาเข้าร่วมอบรม คือ เป็นน้องๆ ประถมถึงมัธยมต้น การที่ได้เล่น ได้หัวเราะ ด้วยกันก็ช่วยสร้างความสุขและความสัมพันธ์ที่ดีของกลุ่มเยาวชน เป็นความทรงจำที่ดีของค่าย ส่วนเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อต้านยาเสพติดน้องๆ ทีมงานก็สอดแทรกเอาไว้ให้ชาวค่ายได้เรียนรู้กันเป็นระยะๆ

ละครคือว่าเรื่องจริง ความจริงคือเรื่องละคร

“จะทำอย่างไรให้คนรุ่นใหม่ใช้สื่ออย่างเข้าใจโลก และเข้าใจโลกผ่านสื่อ” โครงการสื่อสารอาสาพยายามเรียนรู้พัฒนาตนเองและทำงานเพื่อส่งเสริมเรื่องนี้แก่รุ่นน้องและสังคม

1 4 5 6 7 8